อาหารแบบ “คีโต” มีผลดีและผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

อาหารแบบ “คีโต” มีผลดีและผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

การทานอาหารแบบ “คีโต” (Ketogenic Diet) เป็นวิธีการการลดน้ำหนักที่กำลังได้รับความสนใจในทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศอย่างมาก โดยการทานอาหารแบบคีโต -คือการกินที่เน้นไขมันสูง รองมาด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายนำไขมันสะสมมาเผาผลาญเป็นพลังงาน ในช่วงแรกของการลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้น้ำหนักจะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่มีอาการข้างเคียงที่พบบ่อยเมื่อร่างกายเข้าสู่ สภาวะคีโตซิส (Ketosis) คือ อาการขาดน้ำ อ่อนเพลีย ปวดหัว เบื่ออาหาร อารมณ์ฉุนเฉียว นอนไม่หลับ ท้องผูกหากได้รับใยอาหารจากผักผลไม้ไม่เพียงพอ ท้องเสีย และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนเสมอ

การทาน อาหารแบบ “คีโต” มีผลดีต่อร่างกายอย่างไร

  1. ช่วยลดน้ำหนัก: เมื่อร่างกายเข้าสู่ สภาวะคีโตซิส (Ketosis) ร่างกายจะมีประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมันมากขึ้น มีรายงานวิจัยเปรียบเทียบผู้ที่รับประทานอาหารไขมันต่ำ (Low fat) กับผู้ที่รับประทานอาหารแบบคีโต (Low carbohydrate) พบว่าผู้รับประทานอาหารแบบคีโตลดน้ำหนักได้ 5 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าที่รับประทานอาหารไขมันต่ำ เมื่อหลังรับทานอาหารไป 6 เดือน
  2. ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือด: การทานอาหารแบบคีโตนั้นจะจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพียง 5%

ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย

  1. ช่วยลดคลอเรสเตอรอล: เนื่องจากการทานอาหารแบคีโตเป็นการเน้นการทานไขมันที่ดี เช่น ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์และพืช หลีกเลี่ยงการทานไขมันทรานซ์

การทานอาหารแบบ “คีโต” มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

  1. มีสูญเสียน้ำและแร่ธาตุ: เมื่อร่างกายเกิดการสลายไขมันจะเกิดการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุบางส่วนไปด้วยในขณะที่มีการสลายไขมัน ดังนั้นจึงส่งผลให้ร่างกายเพลียและเบื่ออาหารได้
  2. ส่งผลต่อตับ: เมื่อปริมาณกลูโคสลดลง ร่างกายจะนำไขมันที่สะสมมาเผาผลาญและเปลี่ยนกรดไขมัน (Fatty acid) ให้เป็นสารคีโตน (Ketone) ตับมีหน้าที่สำคัญในการเปลี่ยนกรดไขมันให้เป็นสารคีโตน ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคตับ ร่วมทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาถุงน้ำดี
  3. ส่งผลให้ไตและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วที่ไต: เนื่องจากภาวะเป็นกรดในเลือดที่เพิ่มขึ้นจากคีโตนบอดี (ketone bodies) ทำให้ร่างกายเพิ่มการขับแคลเซียมและแมกนีเซียมออกทางปัสสาวะ ซึ่งไตเป็นตัวกรองของเสียก่อนจะขับออกทางปัสสาวะ ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคไต

แนวทางการการทาน อาหารแบบ “คีโต”อย่างปลอดภัย

ข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญชี้แนวทางในการทานอาหารแบบ “คีโต”อย่างปลอดภัยควรเริ่มจากค่อยๆ จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร เช่น ลดปริมาณน้ำตาลจากเครื่องดื่มน้ำหวานน้ำอัดลม น้ำผลไม้ และขนมหวานต่างๆ จากนั้นจึงค่อยปรับลดปริมาณข้าวแป้ง ผลิตภัณฑ์เส้นธัญพืชที่มีแป้งต่างๆ รวมถึง นม ผลิตภัณฑ์นม และผลไม้ โดยเพิ่มสัดส่วนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ อาหารทะเลหรือเลือกแหล่งอาหารที่มีทั้งไขมันและโปรตีน เช่น ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมันและเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูยอ กุนเชียง ลูกชิ้น ควรเพิ่มอาหารกลุ่มผัก โดยเน้นที่พักใบเพื่อให้ได้วิตามิน เกลือแร่และใยอาหาร

การทานอาหารคีโตไม่ได้กำหนดในเรื่องของการใช้เครื่องปรุงรส เว้นแต่ว่าต้องระวังเครื่องปรุงรสที่มีน้ำตาลและสารผสมที่อาจมีแป้งเป็นองค์ประกอบ จึงอาจจะพิจารณาสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในการปรุงรสอาหารเพื่อให้รสชาติหวานได้ ในส่วนของการประกอบอาหารคีโต สามารถปรุงด้วยเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆได้รวมถึงการปรุงด้วยรสเปรี้ยว เค็มและเผ็ดได้

 

Cr.  mgronline  , vrunvride , rama

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า