6 เทคนิคหยุด โยโย่เอฟเฟกต์
โยโย่เอฟเฟกต์ คือ การที่น้ำหนักเหวี่ยงขึ้นอย่างรวดเร็ว มักเกิดกับสาว ๆ ที่ลดน้ำหนักแบบผิดวิธี ลดน้ำหนักแบบหักโหม กินข้าวน้อย อดอาหาร กินยาลดความอ้วน เป็นต้น เพราะฉะนั้นสาว ๆ คนไหนที่กำลังอยู่ในช่วงลดน้ำหนัก และกลัวว่าอาการ โยโย่เอฟเฟกต์จะถามหา วันนี้แคร์ช้อยส์มีคำแนะนำในการป้องกันอาการโยโย่เอฟเฟกต์มาฝากกันค่ะ
-
- เทคนิคจัดสัดส่วนจานอาหาร
การกินอาหารไม่เพียงแค่จำกัดปริมาณพลังงานที่ได้รับ ควรจะควบคุมสัดส่วนสารอาหารที่จะได้รับ โดยใช้เทคนิคจัดสัดส่วนจานอาหาร โดยอาหาร 1 จานของเรา แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ผักและผลไม้ 2 ส่วน แป้งดี 1 ส่วน ไขมันดี 1 ส่วน เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมกับร่างกายไม่
-
- ไม่นอนดึก
การนอนดึก นอนไม่พอ จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเลปตินที่ควบคุมความอิ่มต่ำลง ทำให้ร่างกายรู้สึกไม่อิ่มอย่างที่ควร ทั้งที่กินอาหารในปริมาณเท่าเดิม ในขณะที่ฮอร์โมนเกรลิน ซึ่งควบคุมความหิวจะถูกปล่อยมาในกระเพาะ เพื่อส่งสัญญาณไปยังสมองว่าหิวแล้ว ยิ่งนอนดึกนอนน้อย เกรลินจะถูกปล่อยมามาก ส่วนเลปตินก็ยิ่งถูกปล่อยมาน้อยลง ทำให้สาว ๆ จึงหิวง่าย กินบ่อย กินเท่าไหร่ก็ไม่ค่อยจะอิ่ม แถมหน้าตาดูโทรม ไม่แจ่มใสอีกด้วย เพราะฉะนั้นอย่านอนดึกกันนะคะสาว ๆ
-
- กินโปรตีน
โปรตีน เป็นตัวช่วยในการเพิ่มการเผาผลาญและเร่งกระบวนการเมตาบอลิซึม ทำให้สาว ๆ ที่กินโปรตีน จำพวก ไข่ ถั่ว อกไก่ ปลาต่าง ๆ เป็นประจำ จะสามารถลดน้ำหนักได้ดี หุ่นสวยไว และไม่ทำให้เรารู้สึกอยากอาหารตอนดึกอีกด้วย นอกจากนี้โปรตีน ยังช่วยสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำงานได้ดี
-
- ดื่มน้ำเปล่า
การดื่มน้ำ เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ โดยการดื่มน้ำให้เป็นเวลา จะช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างปกติ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการเผาผลาญให้เป็นปกติได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น หมั่นดื่มน้ำให้เป็นเวลา หรือ จิบน้ำให้บ่อย ๆ ป้องกันโยโย่เอฟเฟกต์ และยังทำให้ผิวพรรณสดใส ลดหุ่นได้อีกด้วยนะคะ
-
- ลดของหวาน
หากร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินจำเป็น น้ำตาลส่วนเกินจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามร่างกาย ยิ่งกินหวานมาก ยิ่งมีไขมันสะสม ยิ่งกิน ยิ่งติด ร่างกายยิ่งต้องการน้ำตาล เราจึงควรลดหรือเลิกกินของหวาน โดยเฉพาะในช่วงลดน้ำหนัก เพื่อร่างกายจะได้ไม่เกิด โยโย่เอฟเฟกต์ และกระซิบบอกนิดนึงว่า ยิ่งกินหวาน หน้ายิ่งแก่เร็วด้วยนะ
-
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน เช่น คาร์ดิโอ เวทเทรนนิ่ง โยคะ พิลาทีส วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือแม้กระทั่งการทำงานบ้านต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เป็นการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินในร่างกาย กระตุ้นร่างกายให้ใช้กล้ามเนื้อในการเผาผลาญไขมันสะสมต่าง ๆ รวมทั้งเป็นการป้องกันอาการ โยโย่เอฟเฟกต์ ได้อีกด้วย เพราะถ้าร่างกายมีระบบเผาผลาญที่ดีจากการออกกำลังกายควบคู่กับการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เน้นไขมันดี โปรตีน แป้งดี และเสริมวิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ก็จะส่งผลให้ร่างกายสามารถใช้พลังงานได้จนหมด ไม่ลงเหลือพลังงานส่วนเกิน จึงทำให้เรา ผอม หุ่นดี ไม่อ้วนอีกด้วยค่ะ
โยโย่เอฟเฟกต์ ไม่ได้เกิดจากสาว ๆ ที่กินยาลดน้ำหนักอย่างที่หลายคนเข้าใจนะคะ เพราะ โยโย่เอฟเฟกต์ คือ ภาวะขาดสมดุลของร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่ลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี อย่างเช่น การกินยาลดน้ำหนัก การอดอาหาร การเลือกกินแค่สารอาหารบางอย่าง ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายไม่ดี การกินตามใจปาก เหล่านี้มีส่วนทำให้เกิด โยโย่เอฟเฟกต์ ได้ทั้งนั้น
ปัญหาสุขภาพที่อาจมาพร้อมโยโย่เอฟเฟค
การเพิ่มขึ้นและลดลงของน้ำหนักที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอาจส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล และทำให้เกิดความผิดปกติบางอย่างขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะผิดปกติต่าง ๆ ดังนี้
- ผิวหย่อนคล้อย ผู้ที่อยู่ในวงจรการเพิ่มขึ้นและลดลงของน้ำหนักตัวอาจมีสภาพผิวที่หย่อนคล้อย เนื่องจากผิวของคนเราเปรียบคล้ายกับยางยืด เมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้นผิวจะถูกยืดออกไปและอาจยืดจนหย่อนคล้อยในที่สุด การยืดของผิวหนังบ่อยครั้งอาจทำให้ผิวบริเวณต้นแขน ต้นขา หน้าท้อง หน้าอก และหลังหย่อนคล้อยได้ ซึ่งอาผงปรุงรส,ผงปรุงรสสำหรับเด็ก,ไม่ใส่ผงชูรส,ไม่มีผงชูรส,เครื่องปรุงออแกนิก,เครื่องปรุงสำหรับโรคไต,เครื่องปรุงสำหรับลดความอ้วน,ควบคุมน้ำหนัก,ควบคุมน้ำตาล,ควบคุมโซเดียม,สุขภาพดี,ลดโซเดียม,โซเดียมต่ำ,carechoicethailand,healthy,กินคลีน,ด.เด็กกินผัก,ผงปรุงรสคีโต,ผงปรุงรสจากผัก100%,ผงปรุงรสสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ,ผงปรุงรสเด็ก,ลดความอ้วน,คุมอาหาร,ลดพุง,เครื่องปรุง,ผงปรุง,ไม่มีกลูเตน,ไม่มีวัตถุกันเสีย,ไม่ใส่วัตถุกันเสีย,เฮลตี้,ไม่ใส่สารกันบูด,ไม่มีสารกันบูด,จไม่ใช่เรื่องที่ดีนักสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้อาจแก้ได้ด้วยการค่อย ๆ ลดน้ำหนักร่วมกับออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยสร้างความกระชับให้แก่ผิวหนัง
- ไขมันเพิ่มขึ้น ในช่วงที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากโยโย่เอฟเฟคอาจทำให้ไขมันสะสมในร่างกายได้ง่าย โดยไขมันที่เพิ่มขึ้นอาจสูงกว่าปริมาณไขมันในช่วงก่อนลดน้ำหนักอีกด้วย นอกจากนี้ ไขมันอาจสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวมทั้งอวัยวะภายใน ซึ่งอาจส่งผลให้การลดน้ำหนักครั้งต่อไปทำได้ยากขึ้นกว่าเดิม
- สูญเสียกล้ามเนื้อ ในช่วงที่น้ำหนักตัวลดลงจากโยโย่เอฟเฟค ไม่เพียงแต่น้ำหนักและไขมันเท่านั้นที่ลดลงไป แต่ยังรวมถึงมวลกล้ามเนื้อที่ลดหายไปด้วย ซึ่งจะส่งผลให้มีพละกำลังลดลง โดยกล้ามเนื้อนั้นเป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างและสะสมได้ยากกว่าไขมัน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเพิ่มหรือรักษามวลกล้ามเนื้อไว้ ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและสารอาหารอื่น ๆ ที่ช่วยในการสร้างและรักษากล้ามเนื้อให้เพียงพอในแต่ละวัน ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอด้วย
- อยากอาหารมากขึ้น ฮอร์โมนเลปตินมีหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกอิ่มหลังจากรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ โดยฮอร์โมนนี้จะถูกส่งออกมาจากเนื้อเยื่อไขมัน เมื่อถึงช่วงน้ำหนักลงเนื่องจากโยโย่เอฟเฟค ไขมันจะลดลง รวมถึงปริมาณของฮอร์โมนเลปตินที่ถูกส่งออกมาก็ลดลงไปด้วย ซึ่งส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอิ่มช้า ไม่อิ่ม รู้สึกหิว หรืออยากอาหารมากขึ้น ดังนั้น ผู้ที่ประสบปัญหาโยโย่เอฟเฟคควรระมัดระวังการรับประทานอาหารมื้อพิเศษหรือรับประทานอาหารในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม เพราะอาจทำให้น้ำหนักตัวพุ่งสูงขึ้นกว่าน้ำหนักตัวที่ลดไปได้
- เสี่ยงเกิดโรคและภาวะผิดปกติต่าง ๆ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและลดลงจากโยโย่เอฟเฟค รวมทั้งไขมันสะสมที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่น้ำหนักเพิ่มสูงขึ้น อาจทำให้เกิดโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ได้ เช่น ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะไขมันพอกตับ โรคหัวใจ ภาวะสูญเสียแร่ธาตุในกระดูกที่เพิ่มมากขึ้นในหญิงสูงวัย และโรคกินไม่หยุด (ฺBinge Eating Disorder) ที่อาจเกิดจากความเครียดหรือพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเดิม ๆ เป็นต้น
- ความรู้สึกเปลี่ยนไป การลดน้ำหนักนั้นต้องใช้ความอดทนและความพยายามเป็นอย่างมาก ซึ่งคนส่วนใหญ่มักรู้สึกภูมิใจเมื่อทำสำเร็จ แต่หากหลังจากนั้นกลับมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากผลของโยโย่เอฟเฟค อาจทำให้คนที่เผชิญปัญหาดังกล่าวรู้สึกเครียด ผิดหวัง ล้มเหลว และอับอายที่ไม่สามารถรักษาระดับน้ำหนักเอาไว้ได้ จนอาจส่งผลให้เข้าสังคมน้อยลง ซึ่งหากมีภาวะซึมเศร้าด้วยก็อาจทำให้อาการทรุดลงได้ อย่างไรก็ตาม โยโย่เอฟเฟคไม่ได้ส่งผลโดยตรงจนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือมีปัญหาในการควบคุมตนเองแต่อย่างใด
นอกจากการมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกายตามที่คนส่วนใหญ่ทราบกันแล้ว น้ำหนักและไขมันที่เพิ่มขึ้นจนสะสมอยู่ในร่างกายปริมาณมากอาจทำให้ความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นด้วย และแม้ว่าช่วงที่น้ำหนักลดลงอาจทำให้ไขมันที่สะสมอยู่ลดลงตามไปด้วย ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูร่างกายและลดความเสี่ยงต่าง ๆ แต่ในบางรายที่ปริมาณไขมันไม่ได้ลดลงตามน้ำหนักตัวก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพตามมาได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่กำลังประสบปัญหาโยโย่เอฟเฟคควรตระหนักถึงความเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงไปพบแพทย์หรือนักโภชนาการ เพื่อปรึกษาและหาทางรับมือปัญหานี้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
เราควรสร้างสมดุลให้กับร่างกายตั้งแต่ตอนนี้ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคู่กับการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เน้นสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยใช้วิธีการปรุงอาหารแบบ ต้ม นึ่ง ย่าง เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและของหวานต่าง ๆ เพื่อลดการสะสมพลังงานส่วนเกินในร่างกาย และใช้แคร์ช้อยส์ ผงปรุงรสจากผัก 100% ทำจากผักปลอดสาร สำหรับปรุงรสอาหารให้ทุกจานอร่อยจากธรรมชาติ ไม่มีผงชูรส ไม่มีวัตถุกันเสีย ไม่มีไขมัน ไม่มีกลูเต็น เหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก และทุกคนในครอบครัว
Cr.POBPAD