เครื่องปรุงลดโซเดียมสำหรับผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไต ทานได้ไหม?
โซเดียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากในเครื่องปรุงอาหารรสเค็ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา ซีอิ๊วขาว หรือโชยุ แต่การบริโภคโซเดียมมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ตัวบวม เสี่ยงต่อโรคหัวใจล้มเหลว โรคความดันในโลหิตสูง รวมถึงโรคไต ดังนั้นผู้ผลิตเครื่องปรุงรส จึงได้คิดค้นผลิตภัณฑ์น้ำปลาหรือซีอิ๊วโซเดียมต่ำ ที่มีรสชาติใกล้เคียงกับสูตรปกติออกมาจำหน่าย เพื่อตอบโจทย์ผู้รักสุขภาพ แต่เครื่องปรุงโซเดียมต่ำอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน
เครื่องปรุงโซเดียมต่ำทำมาจากอะไร?
โดยปกติเกลือเป็นส่วนผสมที่จำเป็นในกระบวนการหมักเครื่องปรุงจำพวกน้ำปลาหรือซีอิ๊ว เครื่องปรุงลดเกลือจะมีขั้นตอนการหมักเหมือนสูตรปกติ แต่เกลือจะถูกกำจัดออกหลังการหมักเสร็จเรียบร้อยแล้ว เกลือหรือโซเดียมในเครื่องปรุงจะถูกกำจัดออกประมาณ 40% จากเดิมอาจมีปริมาณโซเดียม 1000 มิลลิกรัม ก็จะเหลือโซเดียมเพียง 600 มิลลิกรัม และอาจใส่เกลือโพแทสเซียม หรือโพแทสเซียมคลอไรด์เป็นสารให้ความเค็มทดแทน (Potassium Chloride) และเครื่องปรุงรสบางยี่ห้ออาจทำเพียงกำจัดเกลือออก และไม่ใส่สารทดแทนความเค็ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า
โพแทสเซียมคลอไรด์ ดีต่อสุขภาพหรือไม่?
องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้อนุญาติให้ผู้ผลิตอาหารใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ทดแทนโซเดียมคลอไรด์ (เกลือ) ได้ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายก็มีความต้องการแร่ธาตุโพแทสเซียมอยู่แล้ว เพราะ’โพแทสเซียม’มีหน้าที่ในการควบคุมความดันโลหิต, ทำหน้าที่เกี่ยวกับการถ่ายทอดสัญญาณในเซลล์ประสาท, จำเป็นต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ และ’คลอไรด์’ มีหน้าที่ในการควบคุมสมดุลกรดด่างในร่างกาย และระบบน้ำในร่างกาย ดังนั้นในผู้ที่สุขภาพร่างกายปกติ การทานโพแทสเซียมคลอไรด์จึงดีต่อสุขภาพมากกว่าการทานโซเดียมคลอไรด์ในปริมาณมาก
ผู้ป่วยโรคไต สามารถทานเครื่องปรุงโซเดียมต่ำได้ไหม?
ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคไต รับประทานน้ำปลาหรือซีอิ๊วลดโซเดียม เพราะยังมีเกลือโพแทสเซียมที่ร่างกายผู้ป่วยโรคไต ไม่สามารถขับออกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงอาจคั่งและสะสมในร่างกายได้ ดังนั้นจึงแนะนำว่าต้องเลือกเครื่องปรุงรสที่นำเกลือออกและไม่มีการใช้เกลือโพแทสเซียมทดแทน จึงจะปลอดภัยกับผู้ป่วยโรคไต โดยจะต้องคำนวณปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียม ไม่เกินอย่างละ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน การปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงอื่นๆ เช่น ผงชูรส, น้ำปลาร้า, น้ำพริก, เครื่องแกง ก็มีระดับโซเดียมสูงเช่นกัน ดังนั้นหากเราปรุงอาหารให้ ผู้ป่วยโรคไต ก็ต้องปรุงอย่าเบามือที่สุด และอาจใช้รสชาติจากเครื่องเทศ หรือผักผลไม้มาทดแทนเพื่อให้อาหารอร่อยกลมกล่อมขึ้น เช่น “ผงปรุงรสจากผัก CARECHOICE” ที่ทำจากผัก 100% ไม่มีผงชูรส, สารกันเสีย, สารแต่งกลิ่น และสารเคมีใดๆอีกด้วย จึงเหมาะสำหรับ ผู้ป่วยโรคไต อย่างมาก
อ้างอิง
Kremer, S., Mojet, J. and Shimojo, R., 2009. Salt Reduction in Foods Using Naturally Brewed Soy Sauce. Journal of Food Science, 74(6), pp.S255-S262.
Cepanec, K., Vugrinec, S., Cvetković, T. and Ranilović, J., 2017. Potassium Chloride-Based Salt Substitutes: A Critical Review with a Focus on the Patent Literature. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety, 16(5), pp.881-894.
https://www.healthline.com/nutrition/low-sodium-diet
https://www.cargill.com/salt-in-perspective/is-potassium-chloride-good-for-you-or-bad-for-you#:~:text=Potassium%20Chloride%20%26%20Health%3A&text=Potassium%20can%20help%20regulate%20blood,muscle%20strength%2C%20and%20much%20more.