9 อาหารผู้ป่วยโรคไต ควรระวัง
โรคไต เป็นโรคที่ไตของผู้ป่วยไม่สามารถทำหน้าที่กำจัดของเสีย และควบคุมสมดุลเกลือแร่ในร่างกายได้ ขณะทำการรักษาไม่ว่าจะด้วยการฟอกเลือด หรือการล้างไต ผู้ป่วยจะต้องระวังอาหารที่รับประทานเข้าไป ข้อควรระวังของอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตนั้น อยู่ที่ระยะของโรค เช่น ผู้ป่วยในระยะท้ายๆ จะต้องระวังอาหารที่ไม่ก่อให้สารสารเคมีบางอย่างในเลือด ที่มีผลต่อไต
เนื่องจากไตไม่สามารถขับโซเดียม โพแทสเซียมหรือฟอสฟอรัสออกได้สมบูรณ์ จึงทำให้ระดับแร่ธาตุในเลือดสูงขึ้น ดังนั้น อาหารผู้ป่วยโรคไต จึงมักเป็นอาหารที่มีโซเดียมและโพแทสเซียมต่ำ (ต่ำกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน) และจำกัดฟอสฟอรัสที่ 800-1000 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วยโรคไตจึงต้องระมัดระวังอาหารที่อาจแฝงด้วยแร่ธาตุต่างๆเหล่านี้ เช่น
- น้ำอัดลมสีเข้ม เพราะเครื่องดื่มกลุ่มนี้ มักเติมสารสังเคราะห์ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบลงไปในเครื่องดื่ม เพื่อแต่งกลิ่นให้น่าทาน, ยืดอายุการเก็บรักษา และป้องการการเปลี่ยนสีของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นร่างกายก็ดูดซึมฟอสฟอรัสจากสารสังเคราะห์ได้ดีกว่าฟอสฟอรัสจากธรรมชาติอีกด้วย ส่วนน้ำดื่มที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตมากที่สุด คือน้ำเปล่า หรือหากอยากดื่มน้ำสมุนไพร ก็พอดื่มได้บ้าง แต่ต้องไม่หวานจัด เช่น น้ำใบเตย น้ำอัญชัน น้ำเก๊กฮวย น้ำกระเจี๊ยบ เป็นต้น ปริมาณน้ำขึ้นอยู่กับความเสื่อมของไต
- อะโวคาโด้ มีผลไม้ที่มีไขมันดีสูง แต่ฟอสฟอรัสปริมาณสูงมาก โดยอะโวคาโด้ 1 ถ้วย อาจมีฟอสฟอรัสมากถึง 727 มิลลิกรัม ซึ่งนับว่าสูงมากสำหรับผู้ป่วยโรคไต
- อาหารกระป๋อง ไม่ว่าจะเป็นซุปกระป๋อง, ปลากระป๋อง หรือผักกระป๋อง เพราะในส่วนผสม โดยเฉพาะส่วนน้ำมีปริมาณโซเดียมสูงมาก เพราะผู้ผลิตต้องการยืดอายุของสินค้าให้เก็บได้นานขึ้น หากจำเป็นต้องทาน แนะนำให้เทส่วนน้ำทิ้งและอาจนำไปผ่านน้ำร้อนเพื่อชะโซเดียมออก
- ขนมปังโฮลวีท แม้จะมีไฟเบอร์สูงซึ่งดีต่อสุขภาพ แต่เนื่องจากใช้ข้าวสาลีเต็มเมล็ด นั่นคือใช้ทุกส่วนของข้าวสาลี จึงทำให้มีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงควรทานขนมปังขาวมากกว่า
- ข้าวกล้อง เป็น Whole grain หรือธัญพืชเต็มเมล็ด จึงมีโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสมากกว่าข้าวขาว โดยข้าวซ้อมมือ 1 ถ้วย อาจมีฟอสฟอรัสมากถึง 150 มิลลิกรัม และโพแทสเซียม 154 มิลลิกรัม ซึ่งข้าวขาวมีฟอสฟอรัสเพียง 69 มิลลิกรัมและมีโพแทสเซียม 54 กรัม เท่านั้นเอง
- กล้วย ผลไม้ประจำบ้านใครหลายๆคน แต่อาจไม่ใช่สำหรับผู้ป่วยโรคไต แม้จะมีปริมาณโซเดียมไม่มาก แต่กล้วย 1 ใบกลางๆ มีโพแทสเซียมสูงถึง 422 มิลลิกรัม
- ผลิตภัณฑ์นมวัว เป็นแหล่งโปรตีนและแร่ธาตุที่ดี ซึ่งรวมถึงมีแร่ธาตุกลุ่มโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูงเช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงไม่ควรรับประทานมากนัก
- เนื้อผ่านกระบวนการ (processed meat) เช่น ไส้กรอก โบโลน่า ลูกชิ้น เพราะอาหารประเภทนี้มักใช้สารปรุงแต่งอาหารกลุ่มฟอสเฟตและเกลือสูงเพื่อป้องกันการเน่าเสีย ปรุงแต่งรสชาติให้อร่อย และเสริมให้เนื้อดูฉ่ำมากขึ้น
- ผักดอง เช่น ขิงดอง แตงกวาดอง แน่นอนเลยว่าอาหารประเภทนี้มีปริมาณเกลือสูง แม้จะเป็นสูตรลดเกลือ แต่ก็นับว่ามีปริมาณเกลือค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นจึงต้องระวังการทานให้มาก
ผู้ป่วยโรคไต นอกจากจะให้ความสำคัญในการเลือกทานอาหารแล้วนั้น การรักษาเพื่อให้อาการป่วยดีขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติเพื่อเพิ่มดูแลสุขภาพให้มากขึ้น หากปฏิบัติตามได้ก็จะเป็นผลดีต่อผู้ป่วยและคนรอบข้างอีกด้วยค่ะ
- ให้ลดหรืองดบุหรี่ กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นเหตุให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้
- ทานใยอาหารให้มาก อย่าปล่อยให้ท้องผูก เพราะหากขับถ่ายยากจะส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และยังมีผลต่อโพแทสเซียมอาจทำให้โพแทสเซียมถูกดูดซึมได้มากขึ้น
- ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ
- นอนหลับพักผ่อนให้สนิท โดยควรนอนให้ได้ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
การเลือกทานอาหารผู้ป่วยโรคไต นับเป็นเรื่องหลักที่ต้องใส่ใจ เพื่อการรักษาและฟื้นตัวที่รวดเร็วขึ้น นอกจากอาหารหลักแล้ว ก็ต้องใส่ใจเรื่องเครื่องปรุงด้วย แนะนำว่าไม่ควรปรุงแต่งรสชาติมาก หรืออาจใช้รสธรรมชาติจากผักผลไม้ ทำให้อาหารกลมกล่อมมากขึ้น “ผงปรุงรสจากผัก CARECHOICE” สูตรไม่เติมเกลือและน้ำตาล ทำจากผัก ไม่ใส่ผงชูรส, สารกันเสีย, สารแต่งกลิ่น และสารเคมีใดๆอีกด้วย ใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาล ช่วยเพิ่มความหอม กลมกล่อม ให้กับทุกมื้ออาหาร สามารถปรุงเค็มได้ตามต้องการ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับโซเดียมและน้ำตาลในร่างกาย
Cr. healthline