โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุที่อยู่ในเซลล์ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ให้เป็นไปตามปกติ สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไตจะขับโพแทสเซียมทางปัสสาวะได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายสะสมโพแทสเซียมในระดับสูงเกินไป จนมีสัญญาณฟ้องต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อ่อนเพลียกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือหัวใจเต้นผิดปกติ ดังนั้นจึงต้องควบคุมอาหารที่มีระดับโพแทสเซียมต่ำ
- จำกัดการทานอาหารที่มีระดับโพแทสเซียมสูง สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรได้รับโพแทสเซียมเกินวันละ 2,000-3,000 มิลลิกรัม ดังนั้นเราจึงอาจตั้งเกณฑ์ระดับโพแทสเซียมของอาหาร เช่น
อาหารโพแทสเซียมต่ำ คือมีโพแทสเซียมต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม,
อาหารโพแทสเซียมปานกลาง 101-200 มิลลิกรัม,
อาหารโพแทสเซียมสูง 201 -300 มิลลิกรัม และ
อาหารโพแทสเซียมสูงมาก เกิน 300 มิลลิกรัม และจดบันทึกอาหารหรือเมนูที่เราทานในทุกๆวัน - ค้นหาข้อมูลโพแทสเซียมในอาหาร หรืออ่านฉลากโภชนาการก่อนทาน โดยก่อนปรุงอาหารหรือทานอาหาร อาจค้นหาข้อมูลคร่าวๆในอินเตอร์เน็ทว่าวัตถุดิบนี้มีปริมาณโพแทสเซียมเท่าไหร่ หรืออาหารสำเร็จรูปในต่างประเทศ อาจมีข้อมูลปริมาณโพแทสเซียมระบุไว้ชัดเจน (ดังภาพประกอบ) เราก็สามารถคำนวณได้เลยว่าวันนี้เราได้รับโพแทสเซียมมากเท่าไหร่แล้ว
- ระวังโพแทสเซียมที่ซ่อนอยู่ในอาหาร เช่น น้ำสมุนไพร, เครื่องดื่มเสริมโปรตีน, น้ำสมุนไพร, เครื่องดื่มเสริมโปรตีน, น้ำดื่มเกลือแร่ หรือน้ำปลา-ซีอิ๊วโซเดียมต่ำ เพราะถึงแม้จะเคลมว่ามีโซเดียมต่ำ แต่สิ่งที่มาแทนโซเดียม ก็คือโพแทสเซียมนั่นเอง ดังนั้นอาหารเหล่านี้จึงจะมีโพแทสเซียมในระดับค่อนข้างสูง
- ทานอาหารนอกบ้านได้ แต่ต้องเลือกอย่างระมัดระวัง เราจะต้องจำว่าอาหารชนิดไหนเราทานได้มากน้อยแค่ไหน หากทานอาหารตะวันตก ควรเลือกทานสลัดเป็นเครื่องเคียงแทนมันฝรั่งทอด หรือมันบด เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูง, กลุ่มเนื้อสัตว์ ก็ไม่ควรเลือกทานไส้กรอก เพราะมีสารเคมีที่มีผลต่อไตมาก ทางที่ดีควรเลือกอาหารกลุ่มนึ่งหรือต้มจะดีกว่า และอาจบอกทางร้านเพิ่มเติมว่า อย่าเติมซีอิ๊ว, น้ำปลา และผงชูรสเพิ่ม
- หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกถั่ว เพราะถั่วแทบทุกชนิดมีปริมาณโพแทสเซียมสูงมาก โดยเฉพาะเมล็ดอัลมอนด์ที่ปริมาณเพียง 100 กรัม มีโพแทสเซียมสูงถึง 860 มิลลิกรัม
- ไม่ทานผลไม้อบแห้ง เพราะผลไม้อบแห้งคือการนำผลไม้ไปตากแห้ง นำส่วนน้ำออกไป ดังนั้นแร่ธาตุต่าง ๆ ในผลไม้จึงเข้มข้นขึ้นถึง 8 – 10 เท่า การทานผลไม้แห้งเพียง 1 ชิ้น อาจได้รับโพแทสเซียมสูงเท่าทานผลไม้ทั้งลูกเลยก็ได้
- หากอยากทานไอศกรีม ให้เลือกทานแบบเชอร์เบต หรือไอศกรีมหวานเย็นจะดีกว่าไอศกรีมที่มีนมเป็นส่วนผสม เนื่องจากนมมีแร่ธาตุจำพวกโพแทสเซียมสูงเช่นกัน
แม้ผู้ป่วยโรคไต จะมีข้อกัดสักเล็กน้อยเวลาเลือกทานอาหาร แต่ก็จำเป็นต้องทำเพื่อสุขภาพของผู้ป่วยที่เรารัก และทางที่ดี ควรทำอาหารทานเองเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารมื้อนี้จะไม่มีโพแทสเซียมเกินกว่าที่เรากำหนด โดยเราขอแนะนำ “ผงปรุงรสจากผัก CARECHOICE” ที่ทำจากผัก 100% ไม่มีผงชูรส, สารกันเสีย, สารแต่งกลิ่น และสารเคมีใดๆอีกด้วย จึงทำให้ทุกมื้อเป็นมื้อที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตและทุกๆคนในบ้าน
Cr. healthlinkฺBC